การศึกษาผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม

การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการจะดำเนินการศึกษาตามแนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of A Road Scheme : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567) ของกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานแผนงาน กรมทางหลวง และ (ร่าง) แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางหลวงหรือถนน และระบบทางพิเศษ พฤษภาคม 2567 ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยขอบเขตของการศึกษาจะประกอบด้วยการดำเนินงาน 2 ส่วนหลัก คือ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination ; IEE) และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด (Environmental Impact Assessment ; EIA) สำหรับปัจจัยสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่ทำการศึกษาจะครอบคลุมทรัพยากรสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน รวม 37 ปัจจัย โดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบระดับปานกลางขึ้นไปจะนำไปศึกษาต่อในขั้นรายละเอียด (EIA)

ขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
Image
ที่มา : (ร่าง) แนวทางการจัดทำรายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางหลวงหรือถนน และระบบทางพิเศษ พฤษภาคม 2567

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่ทำการศึกษา

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ

คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต

  • ภูมิสัณฐาน
  • ทรัพยากรดิน
  • ธรณีวิทยา
  • ทรัพยากรแร่ธาตุ
  • น้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
  • น้ำทะเล
  • อากาศและบรรยากาศ
  • เสียง
  • ความสั่นสะเทือน
  • ระบบนิเวศ
  • สัตว์ในระบบนิเวศ
  • พืชในระบบนิเวศ
  • สิ่งมีชีวิตหายาก
  • น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
  • การคมนาคมขนส่ง
  • สาธารณูปโภค
  • พลังงาน
  • การควบคุมน้ำท่วมและการระบายน้ำ
  • การเกษตรกรรม
  • การอุตสาหกรรม
  • เหมืองแร่
  • สันทนาการ
  • การใช้ที่ดิน
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • การโยกย้ายและการเวนคืน
  • การศึกษา
  • การสาธารณสุข
  • อาชีวอนามัย
  • การแบ่งแยกชุมชน
  • อุบัติเหตุความปลอดภัย
  • ความปลอดภัยในสังคม
  • สุขาภิบาล
  • สารอันตราย
  • ความสำคัญเฉพาะชุมชน
  • ผู้ใช้ทาง
  • ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
  • สุนทรียภาพ